เปิดรับสมัครนักศึกษากศน.ระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายระยะเวลาในการสมัครเรียนได้ตั้งแต่วันที่1-30เมษายนและ1-31ตุลาคมของทุกปี

บทความสุขภาพกาย




                                       โรคไข้เลือดออก


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออก 
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกนั้นจะมีไข้สูงอยู่ประมาณ 2-7 วัน จะปวดเมื่อยไปตามตัว มีจุดแดงๆ ตามลำตัว แขน ขา ปวดศีรษะปวดศีรษะ อาเจียน มีอาการคลื่นไส้ และเบื่ออาหาร และสำหรับคนที่มีอาการรุนแรงนั้นมือเท้าจะเย็น กระสับกระส่าย และไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกส่วนใหญ่มักจะพูดคุยไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเสียชีวิตได้หลังจากการช็อกภาย ใน 12-24 ชั่วโมง 
อาการของผู้เป็นไข้เลือดออก 
หลังจากที่ได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยนั้นจะเริ่มมีอาการของโรค จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่ามีความรุนแรงที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้แดงกี่ ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนกระทั่งช็อกและอาจเสียชีวิตได้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลในเวลาที่เร็วที่สุด
 การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีวิธีการปฏิบัติดังนี้ค่ะ
          การดูแลผู้ป่วยในระยะแรกญาติอาจจะต้องเป็นผู้ ดูแลเอง ถ้าหากว่าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล และผู้ป่วยจะมีเลือดออกร้อยละ 70 และจะมีไข้อยู่ประมาณ 3-4 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการช็อกในวันที่ 5 ของไข้ บางคนก็ร้อยละ 2-10 จะมีไข้สูง 2-3 วัน วันที่ช็อกเร็วที่สุดคือวันที่ 3 นับจากวันที่มีไข้
โรคไข้เลือดออก
 
         1.  ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีไข้สูง ในบางรายถ้ามีไข้สูงมากอาจจะมีอาการชักได้ โดยเฉพาะเด็กที่เคยมีอาการชัก หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ต้องให้กินยาลดไข้พวกพาราเซตามอน ห้ามให้กินยาพวกแอสไพลิน เพราะถ้าใช้ยาพวกแอสไพลินจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการงานได้นะค่ะ และจะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเลือดออกได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ นอกจากนี้ถ้าใช้ยาลดไข้มากเกินไปจะมีภาวะเป็นพิษต่อตับ และควรจะใช้การเช็ดตัวลดไข้ด้วย
2.  ผู้ป่วยต้องได้น้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ และผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร ฉะนั้นควรให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) และผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนให้ดื่มบ่อยๆ และต้องครั้งละน้อยๆ ด้วยนะค่ะ
3.  ที่สำคัญญาติจะต้องเฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะจะได้ป้องกันและตรวจพบอาการช็อกได้ทันเวลา  อาการช็อกนั้นมักจะเกิดพร้อมวันที่มีไข้ลดลงในวันที่ 3 ของการมีไข้ หรืออาจจะแล้วแต่ระยะเวลาของการเป็นไข้ ถ้าผู้ป่วยมีไข้ 6 วัน อาจจะช็อกในวันที่ 7 ก็เป็นไปได้เหมือนกันค่ะ และแพทย์ควรแนะนำอาการนำของช็อกให้ญาติของผู้ป่วยทราบด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น ไม่ดื่มน้ำและรับประทานอาหารเลย จึงทำให้มีการปัสสาวะและขับถ่ายน้อยลง มีอาการปวดท้อง มือและเท้าเย็น มีอาการสั่นเป็นช่วงๆ ถ้ามีอาการดังที่กล่าวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
4.  เมื่อผู้ป่วยถูกส่งไปที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลแล้ว แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณเกล็ดเลือดและ hematocrit และนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ เพราะถ้า hematocrit เพิ่มสูงขึ้นและปริมาณเกล็ดเลือดลดลง นั่นคือน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะทำให้ช็อกได้ จึงเป็นที่จะต้องใช้สารน้ำชดเชย
5.  อันที่จริงแล้วแพทย์ไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาทุกรายก็ได้ อย่างเช่นผู้ป่วยระยะแรกที่ยังไม่มีไข้ แพทย์สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกก็ได้ และให้เฉพาะไปรับประทาน และแพทย์ต้องแนะนำให้ญาติเฝ้าสังเกตอาการหรือให้แพทย์นัดไปตรวจเป็นระยะๆ และตรวจดูอาการไปเรื่อยๆ จนผู้ป่วยมีอาการช็อกให้แพทย์รับไว้รักษาในโรงพยาบาล และต้องรีบด่วนในการรักษาด้วยนะค่ะ
สมุนไพรรักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น 
          สมุนไพร รักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น ก่อนที่จะไปพบแพทย์คือแห้วหมู วิธีการก็คือ ให้เอาหัวแห้วหมูสดหรือแห้งก็ได้ ถ้าแห้วหมูสดให้ล้างน้ำสะอาดประมาณ 1 กำมือเท่านั้น ถ้าแบบแห้งให้แช่น้ำไว้ 30 นาที ให้หัวอ่อนก่อน แล้วตำให้ละเอียดนำไปผสมกับเหล้าขาว 35 ดีกรี หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แล้วแช่ไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นให้กรองเอาเฉพาะเหล้า 1 แก้ว แล้วดื่มให้หมดแก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกให้หมด หากไข้ยังสูงอยู่ให้ดื่มอีก 1 แก้ว จากนั้นให้พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลจะช่วยให้หายเร็วขึ้น  หากว่ากลับจากโรงพยาบาลแล้วผู้ป่วยยังมีอาการปวดศีรษะอยู่ให้ใช้ยา 5 ราก มีรากย่านาง รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร รากเท้า-ยายม่อมและรากต้นซิงซี่ เป็นแบบแห้ง ใช้ในปริมาณพอสมควรในจำนวนเท่าๆ กัน จากนั้นบดเป็นผงตัก 1 ช้อนชา แล้วชงกับน้ำอุ่นกิน 3 เวลา ให้ดื่มก่อนอาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น จนกว่าจะหายดี
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก


          การ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกก็คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ลายกัดได้ ยุงลายนั้นชอบออกหากินในเวลากลางวัน และในบ้านของคุณลองสังเกตดูว่ามีตรงไหนบ้างที่มีน้ำขังก็ให้รีบแก้ไขให้เร็ว ที่ เช่น
- ถ้วยรองขาตู้กับข้าวให้เติมน้ำเดือดลงไปทุกๆ 7 วัน หรือใส่ขัน/เกลือ น้ำส้มสายชู/ขี้เถ้า ขวด
- เลี้ยงพลูด่างควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน
- โอ่งน้ำให้ปิดฝาให้มิดชิด หรือถ้าโอ่งไม่มีฝาให้ใส่ทรายอะเบท 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
- จานรองกระถางต้นไม้ให้เทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงพื้นดินทุก 7 วันหรือใส่ทรายธรรมดา 
-  จานรถยนต์เก่าให้ใช้วิธีปกปิดเจาะรูหรือดัดแปลงให้น้ำไม่สามารถขังอยู่ได้ อ่างบัว ให้ใส่ปลาที่กินลูกน้ำด้วย  เช่นปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาหัวตะกั่ว
-  แอ่งน้ำให้ใช้ทรายหรือดินกลบถม
-   ท่อระบายน้ำอย่าปล่อยให้ท่ออุดตันหลุมบ่อ
          การ ป้องกันตนเองจากยุงลาย เวลาที่คุณอยู่ในบ้านควรอยู่ในที่โล่ง มีลมพัดผ่านได้และมีแสงสว่างเพียงพอเพราะยุงลายชอบไปหลบซ่อนตามมุมมืดของ ห้อง ที่รกๆ เวลานอนหลับตอนกลางวันให้นอนในห้องที่มีมุ้งลวดหรือให้กางมุ้งนอน เปิดพัดลมช่วยไล่ยุงเพราะยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน และถ้าที่บ้านคุณมียุงเยอะจริงให้ใส่กางเกงขาวยาว เสื้อมีแขนหรือเสื้อแขนยาวยิ่งดี เพื่อที่จะทำให้คุณนั้นเหลือพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัดให้น้อยที่สุดค่ะ และอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยคุณได้คือทายากันยุงที่ปลอดภัยและควรเป็นยากัน ยุงที่สกัดจากพืช



 

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น